วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ใช้วิทย์ฯ ไขปริศนาโลกแห่งเวทมนตร์ของแฮร์รี่ พอตเตอร์

บางทีโลกของแฮร์รี่ก็อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผลของมักเกิ้ลก็ได้
หากจะนับเวลาถอย หลัง อีกไม่กี่อึดใจก็จะถึงช่วงเช้าตรู่ของวันที่ 16 ก.ค.นี้ ซึ่งมีความหมายอย่างยิ่งต่อแฟนๆ พ่อมดตัวน้อย เพราะ "แฮร์รี่ พอตเตอร์" เล่ม 6 ในชื่อตอน "Harry Potter and the Half-Blood Prince" ก็พร้อมจะออกมาสู่สายตาของพวกเราเหล่า "มักเกิ้ล" ผู้ไร้เวทมนตร์คาถาตามจินตนาการของ เจ เค โรลลิ่ง เจ้าของบทประพันธ์

สำหรับการผจญภัยครั้งใหม่ของแฮร์รีเล่ม 6 นี้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่หลายคนอาจจะใจจดใจจ่อจนรู้สึกว่าการรอคอยนี้ช่างยาวนานจน อาจนำไปใช้ยกตัวอย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ที่ว่าวางมือบนเตาไฟ 1 นาที มันยาวนานเหมือน 1 ชั่วโมง นั่งคุยอยู่กับสาวงาม 1 ชั่วโมงดูราวกับนาทีเดียว การรอคอยที่จะได้อ่านแฮร์รีเล่มนี้...ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น

จะว่าไปแล้วโลกของเวทมนตร์กับโลกของวิทยาศาสตร์ดูเหมือนเป็นคนละ เรื่อง อยู่กันคนละขั้วที่ไม่อาจรวมกันได้ แต่ชายที่ชื่อโรเจอร์ ไฮฟิลด์ (Roger Highfield) บรรณาธิการวิทยาศาสตร์ จากเดอะ เดลี เทเลกราฟ (The Daily Telegraph) อาจทำให้หลายคนเปลี่ยนความคิดเมื่อเขาได้เสนอว่าความลี้ลับในโลกของแฮร์รี่ นั้นอาจอธิบายได้ด้วยความรู้จากมักเกิ้ลอย่างเราๆ ในหนังสือ “วิทยาศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์” พร้อมตั้งคำถามที่มีคำตอบว่าเวทมนตร์จะเป็นจริงได้อย่างไร

โร เจอร์เสนอความคิดว่าจริงๆ แล้วโลกเวทมนตร์ของแฮร์รี่อาจจะเป็นสิ่งที่เราพบเห็นอยู่ทั่วไปแล้วก็ได้ หรืออาจจะกำลังพยายามทำให้เป็นจริงอยู่ เช่น แผนที่ตัวกวนก็แทบจะไม่ต่างอะไรกับเทคโนโลยีจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือระบบหาพิกัดบนพื้นโลก หรือเทคโนโลยีใหม่ที่ทำมักเกิ้ลธรรมดาอย่างเราๆ หายวับเข้าไปในกำแพงได้ด้วยเทคนิคสร้างฉากเป็นม่านหมอกบางๆ ที่สามารถฉายรูปอิฐและปูนลงไป เป็นต้น

และบางทีโลกของแฮร์รี่อาจจะซ่อนอยู่โลกของเราจริงๆ ก็ได้
นอกจากนี้โรเจอร์มีความหวังที่จะโน้มน้าวให้คนอ่านเห็นความสัมพันธ์ บางอย่างระหว่างวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์ โดยได้ยกตัวอย่างคำพูดของนักคณิตศาสตร์ท่านหนึ่งที่เขาไม่ได้เอ่ยชื่อว่าวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์มีความเชื่อข้อหนึ่งร่วมกัน นั่นคือสิ่งที่เรามองเห็นเป็นเพียงความจริงผิวเผิน ไม่ใช่ ความจริงที่แท้ และโรเจอร์ให้ความเห็นต่อไปว่าวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์ล้วนมีต้นกำเนิดจาก ความต้องการพื้นฐานในการทำความเข้าใจโลกที่โหดร้าย ทำให้เราทำนายหรือปรับเปลี่ยนมันเพื่อประโยชน์ของเราเองได้

อีกทั้งอาร์เทอร์ ซี คลาร์ก (Arthur C. Clark) นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังได้เคยกล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีใดที่ปฏิบัติการได้ราบรื่น ล้วนดูเหมือนเวทมนตร์ ขณะที่ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษเคยกล่าวไว้ว่าความลี้ลับคือสิ่งที่สวยงามที่สุด ที่เราสัมผัสได้ มันคือจุดกำเนิดของศิลปะ และวิทยาศาสตร์ทั้งมวลอย่างแท้จริง

ท้ายสุดแล้ววิทยาศาสตร์และเวทมนตร์อาจห่างกันเพียงแค่เส้นบางๆ เพราะแม้แต่เหตุการณ์ชุลมุนจากตัวพิกซี่ เจ้าสัตว์ตัวกวนที่ไม่มีพิษสงในโลกเวทมนตร์ ที่เกิดกับแฮร์รี่ในชั่วโมงเรียนการป้องกันตัวจากศาสตร์มืดของศาสตราจารย์ กิลเดอลาย ล็อกฮาร์ตก็ถูกหยิบยกเข้ามาโยงกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ภายใต้กฎข้อที่ 2 ของเทอร์โมไดนามิกส์ได้

สำหรับมักเกิ้ลแฟนพันธุ์แท้ของแฮร์รี่ที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษอาจจะลอง ไปหาหนังสือเล่มนี้มาอ่านแก้เก้อระหว่างรอหนังสือแฮร์รี่แปลเป็นภาษาไทยก่อน ก็ได้ เพราะหนังสือวิทยาศาสตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้วโดย อุกฤษฏ์ มั่นคง และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์นานมีบุคส์

ปริศนาที่ได้รับการเปิดเผยนี้จะสวยงามเทียบเท่าความลี้ลับที่ไอน์สไตน์เชื่อถือหรือไม่ ต้องลองพิสูจน์

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Parking Car Games Online
Play Kid Games Online For Free
Stripping Drinking Games
The Sims Online Game
Build A Car Online Games
Free Action Keno Casino Games
Mash The Game
Multiplayer Games Online
Party Games For Teens
Yahoo Free Card Games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น