วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

“พอลิเมอร์-เซรามิกส์” วัสดุวนเวียนในชีวิตประจำวัน

เซรามิกส์ดินเผาที่คุ้นเคยมานับพันปี


พลาสติกที่มีความสวยใกล้เคียงแก้ว

ไฟเบอร์กล๊าส แก้วที่ถูกยืดให้เป็นเส้น ไม่ส่งผ่านความร้อน ใช้เป็นฉนวนกันความร้อน

สารพัดพลาสติกที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

เส้นใยแก้วนำแสงอีกหนึ่งช่องทางในการนำแก้วมาใช้เพื่อการสื่อสาร

โฟม พอลิเมอร์อีกประเภทที่ผลิตมาจากพลาสติก

เซรามิกส์คู่ครัว

นกฮูก ผลิตภัณฑ์จากกระดาษเซรามิกส์

แก้วหลากหลายชนิด ผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับเซรามิกส์

เซรามิกส์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในรูปแบบของเครื่องครัว

แก้วลูกผสมที่มีคุรสมบัติกึ่งเซรามิกส์มีความวาวคล้ายแก้วแต่มีความแข็งแรงเหมือนเวรามิกส์

โลกของเรามีความมหัศจรรย์มากมาย บางอย่างอาจจะเป็นเรื่องธรรมดาของคนกลุ่มหนึ่งที่ชินกับเรื่องนั้นๆ แต่อาจจะเป็นเรื่องชวนอัศจรรย์ใจแก่คนอีกกลุ่มหนึ่งด้วยความที่ไม่คุ้นเคย เช่นเดียวกับโลกของวัสดุที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาซึ่งอาจทำให้เรารู้สึก “ทึ่ง” ในความสามารถของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันว่า “คิดได้ไง” วันนี้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จะพาไปรู้จักกับวัสดุที่วนเวียนอยู่รอบๆ ตัวเรา นั่นคือ “พอลิเมอร์” และ “เซรามิกส์”

“พอลิเมอร์” วัสดุตกไม่แตก
ในชีวิตประจำวันของเรา “พอลิเมอร์” (Polymer) ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะมองไปทางไหนเราก็จะพบผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากพอลิเมอร์ แต่คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับ “พลาสติก” มากกว่า ทั้งที่พลาสติกก็คือพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งนั่นเอง การนำพอลิเมอร์มาใช้มีมานานแล้วและยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ เหมาะกับการใช้งาน

ในทาง วิชาการความหมายของพอลิเมอร์คือสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงโดยมีโครงสร้างทาง เคมีที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยซ้ำ ๆ ของโมเลกุลที่เรียกว่า “เมอร์” (mer) และหากเป็นโมเลกุลที่มี “เมอร์” เพียง 1 หน่วยก็จะเรียกว่า “มอนอเมอร์” (Monomer) ซึ่งสารตั้งต้นของพอลิเมอร์อีกที ทั้งนี้เราพบสารที่เป็นพอลิเมอร์ได้ในธรรมชาติและจากการสังเคราะห์ขึ้นเอง

สำหรับพลาสติกที่เราคุ้นเคยกันก็มีหลายชนิด ซึ่งที่พอจะคุ้นเคยกันและได้ยินติดหูกันก็มีอาทิ “ขวดเพท” ที่ทำมาจากพลาสติกประเภท “เพท” (PET) ซึ่งมีลักษณะใส เหนียว ไม่เปรอะแตกง่ายจึงนิยมนำมาทำเป็นขวดบรรจุน้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำอัดลมหรือน้ำมันพืช และ “พีวีซี” (PVC) ก็เป็นพลาสติกอีกชนิดที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากสามารถผลิตให้มีคุณสมบัติตาม ต้องการได้หลากหลาย เราอาจจะคุ้นเคยกับพีวีซีที่เป็นท่อน้ำหรือท่อหุ้มสายไฟ เนื่องจากมีความแข็งและเหนียว แต่ก็สามารถนำผลิตเป็นขวดสระผมหรือแม้แต่ฟิล์มห่ออาหารได้ด้วยการเติมสาร เคมีให้นิ่มลง

ยังมีพลาสติกอีกชนิดซึ่งมีคุณสมบัติที่จะนำไปผลิตเป็นขวดยาสระผมได้ เช่น “พีอี” (PE) ที่มีลักษณะนิ่ม เหนียว ไม่แตก ทนสารเคมีและราคาถูก และยังนำพีอีไปผลิตเป็นถุงพลาสติกได้อีกด้วย ส่วนโต๊ะ เก้าอี้หรือตะกร้าพลาสติกก็ผลิตมาจากพลาสติก “พีพี” (PP) ที่มีลักษณะแข็ง ขุ่นและทนแรงกระแทกได้ดี

อย่างไรก็ดีแม้ว่าพลาสติกจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติหลากหลาย แต่ความสวยงามเมื่อเทียบกับภาชนะและบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตจากแก้วก็ด้อยกว่ามาก จึงได้มีการพัฒนาพลาสติกชนิด “พีซี” (PC) ที่เหนียว ทนความร้อนและรอยขีดข่วนและ “พีเอ็มเอ็มเอ” (PMMA) ที่ใส เหนียว แต่ไม่ทนร้อนและรอยขีดข่วน พลาสติก 2 ชนิดนี้นำไปใช้เป็นขวดเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์ในครัว เช่น แก้วน้ำ เหยือก เป็นต้น แม้ความงามจะยังไม่เทียบเท่าแต่มีรวมคุณสมบัติ “ตกไม่แตก” ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสน

พอลิเมอร์อีกประเภทที่คุ้นเคยกันดีก็คือ “โฟม” ที่เราใช้ในการบรรจุอาหารหรือใช้เป็นวัสดุกันกระแทก ทั้งนี้โฟมก็คือพลาสติกที่มีโพรงอากาศอัดแน่นนั่นเองซึ่งพลาสติกทุกชนิด สามารถนำมาผลิตเป็นโฟมได้ โดยโฟมที่เราเห็นว่าเบานั้นผลิตมาจากเม็ดโฟมที่มีสาร “เพนเทน” (penthane) เมื่อเจอความร้อนสารดังกล่าวจะดันให้เม็ดโฟมขยายได้ถึง 50 เท่า ในการขึ้นรูปโฟมก็มีหลักการง่ายๆ โดยการให้ความร้อนกับเม็ดโฟมทั้งโดยไอน้ำหรือต้มในน้ำเดือด เมื่อเม็ดโฟมขยายจนได้ขนาดที่ต้องการก็นำเม็ดโฟมนั้นไปใส่ในแม่แบบแล้วให้ ความร้อนอีกที เม็ดโฟมก็จะขยายจะอัดแน่นในแม่แบบ

ยังมีพอลิเมอร์อีกชนิดที่เราคุ้นเคยในด้านความงามนั่นคือ “ซิลิโคน” ซึ่งเราๆ อาจจะรู้จักในฐานะวัสดุเสริมขนาดหน้าอกหรือเสริมจมูกในการศัลยกรรมความงาม แต่ซิลิโคนยังใช้ในการผลิตเป็นจุกนมสำหรับเด็ก แผ่นเจลรักษาแผลเป็นที่ปูดนูน กาวซิลิโคน ฉนวนหุ้มสายไฟและสายยางได้ สำหรับผู้คิดค้นซิลิโคนคือ ดร.ยูจีน จอร์จ โรเชาว์ (Dr.Eugene George Rochow) ซึ่งผลิตซิลิโคนขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1943

“เซรามิกส์” วัสดุที่ไม่ทิ้งความเป็นอมตะ
ผลิตภัณฑ์จากเซรามิกส์ก็เป็นวัสดุอีกประเภทที่เราคุ้นเคยและมักเห็น เป็นประจำในเครื่องครัว สำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในห้องครัวที่เราคุ้นเคยมีด้วยกัน 4 ประเภทหลักๆ คือ เอิร์ทเทนแวร์ (Earthernware) สโตนแวร์ (Stoneware) ปอร์ซเลน (Porcelain) และโบนไชน่า (Bone China) ซึ่งเมื่อแยกประเภทโดยคุณสมบัติโปร่งแสงแล้ว เอิร์ทเทนแวร์และสโตนแวร์จะทึบแสง ส่วนปอร์ซเลนและโบนไชน่าจะโปร่งแสงคือเมื่อนำไปส่องไฟจะเห็นว่าแสงสามารถ ผ่านได้

เอิร์ทเทนแวร์เป็นเซรามิกส์ที่มนุษย์รู้จักมานับพันปีแล้ว และปัจจุบันเราเห็นกันในรูปหม้อดิน กระถางต้นไม้ รูปปั้นต่างๆ เป็นต้น เซรามิกส์ประเภทนี้มีความพรุนสูง แตกหักง่าย เมื่อใส่อาหารหรือของเหลวจะถูกดูดซึมลงในเนื้อภาชนะ ทำให้มีการสะสมของกลิ่นหรือเชื้อโรคได้จึงควรใช้วัสดุอื่นรองก่อนใส่อาหาร หรือของเหลวลงไป อีกทั้งยังไม่ควรใช้กับเครื่องไมโครเวฟเนื่องจากอากาศและน้ำอาจขยายตัวจน ระเบิดอย่างรุนแรงได้

สโตนแวร์เป็นเซรามิกส์ที่เนื้อดินหลอมกันแน่นกว่าเอิร์ทเทนแวร์ ไม่เปราะและแตกง่ายเมื่อกระทบกัน สามารถใช้ได้กับเตาอบและไมโครเวฟ แต่ก็ควรจะเลือกที่มีสัญลักษณ์ Oven/Microwave safe เพื่อความปลอดภัย ส่วนความสามารถในการดูดซึมน้ำจะน้อยกว่าเอิร์ทเทนแวร์ เซรามิกส์ประเภทนี้มีกำเนิดในประเภทจีนและซีเรียเมื่อเกือบ 3,000 ปีก่อนศริสต์ศักราช

ปอร์ซเลนเป็นภาชนะที่บาง เบา มีความหรูหราและทันสมัย เนื้อดินมีความแข็งแกร่งมาก ไม่บิ่นและแจฃตกง่ายเมื่อกระทบกัน แสงสามารถผ่านได้เมื่อส่องไฟ มีส่วนผสมของดินขาว เฟลด์สปาร์และควอตซ์ เซรามิกส์ชนิดนี้ถือกำเนิดในประเทศจีนยุคราชวงศ์ถัง ส่วนโบนไชน่าเป็นเซรามิกส์ที่มีความหรูหราเช่นเดียวกับปอร์ซเลนแต่มีส่วนผสม เป็นเถ้ากระดูก ดินขาวและเฟลสปาร์

สำหรับนิยามของเซรามิกส์คือผลิตภัณฑ์ที่เป็นสารประกอบอนินทรีย์และ ผ่านกระบวนการเผา แต่ปัจจุบันมีเซรามิกส์ที่ไม่ต้องเผาแต่จัดเป็นเซรามิกส์คือ ผง “ไฮดรอกซี อะพาไทด์” (Hydroxyapatite) ซึ่งเป็นเซรามิกส์ที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกโดยไม่ ได้ผ่านกระบวนการเผา ดังนั้นกระบวนการเผาจึงเป็นข้อยกเว้นว่าอาจจะมีหรือไม่ก็ได้

การพัฒนาเซรามิกส์มีมาอย่างต่อเนื่องและไม่ได้จำกัดอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ ในครัวเรือนเท่านั้น แต่ยังพัฒนาเซรามิกส์เพื่อใช้งานอย่างอื่น เช่น “อีโคเซรามิกส” ซึ่งเป็นเซรามิกส์ที่ผลิตมาจากเถ้าแกลบและน้ำทิ้ง อันเป็นผลงานวิจัยของนักวิชาการจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ซึ่งเซรามิกส์ดังกล่าวมีความแข็งแรงและทนความร้อนได้ที่อุณหภูมิหลายพันองศา เซลเซียสเหมาะแก่การใช้งานในโรงงาน นอกจากนี้ก็ยังมีเซรามิกส์ที่ใช้เทคนิคในการผลิตแผ่นรองวงจรที่ใช้ในวงการ อิเล็กทรอนิกส์มาผลิตเป็น “กระดาษเซรามิกส์” ซึ่งช่วยสร้างความหลากหลายให้กับผลิตเซรามิกส์มากขึ้น

นอกจากนี้ "แก้ว" ยังเป็นวัสดุอีกชนิดที่วนเวียนอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา แก้วเป็นสารประกอบของซิลิกาและโลหะออกไซด์ ทั้งนี้แก้วมีความใกล้เคียงกับเซรามิกส์เนื่องจากเป็นสารประกอบอนินทรีย์และ ต้องผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันคือแก้วจะต้องหลอมก่อนขึ้นรูปในขณะที่เซรามิกส์จะ ต้องขึ้นรูปก่อน และแก้วจะแข็งตัวโดยไม่ตกผลึก

การแบ่งชนิดของแก้วแบ่งได้หลายวิธีแต่โดยมากนิยมแบ่งตามส่วนประกอบ ทางเคมี โดยส่วนประกอบหลักๆ ของแก้วคือทรายแก้ว โซดาแอชและหินปูน และอาจจะเติมสารเคมีอื่นๆ เพื่อให้ได้แก้วที่มีคุณสมบัติตามต้องการ ทั้งนี้กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของแก้วที่เราพบเห็นกันทั่วไปคือแก้วโซดาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ในรูป แก้วน้ำและขวด เป็นต้น และยังมีการนำแก้วไปประยุกต์ใช้ในรูปอื่นๆ อีก เช่น ไฟเบอร์กล๊าสซึ่งเป็นแก้วที่ถูกยืดให้เป็นเส้นๆ ด้วยความร้อนแล้วนำมาสานกันใช้เป็นฉนวนกันความร้อน เป็นต้น

ยังมีวัสดุที่ผลิตจากความคิดอันบรรเจิดของมนุษย์ที่สร้างความสะดวกสบายให้กับชีวิตประจำวันของเรา ลองมองไปรอบๆ ตัวสิ

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


Free Sonic Games Online
Games I Can Play Free Now
Play Free Slot Games
The Hardest Game In The World
United States Map Games
Who Invented The Game Of Bowling
Blues Clue Games Online For Free
Daily Games
Free Military Strategy Games
Free Online Learning Games Preschool

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น