วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มหัศจรรย์แห่งแสง จาก "สะท้อน-หักเห" สู่การส่งข้อมูลพันล้าน

หลักการสะท้อนของแสงยังไปใช้ในการออกแบบโคมไฟให้เหมาะกับลักษณะการใช้งาน

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
(ซ้าย)ภาพของหลอดแก้วหายไปในน้ำมัน (ขวา) หลอกแก้วไม่ได้หายไปไหน

เครื่องมือวัดความหนาเลยส์ด้วยเทคโนโลยีแสง ฝีมือคนไทย

โฮโลแกรม เทคโนโลยีแสงสร้างภาพ

เส้นใยแก้วนำแสง อุปกรณ์นำส่งข้อมูลทรงคุณภาพในยุคปัจจุบัน

เทคโนโลยีบันทึกลายนิ้วมือฝีมือคนไทยใช้หลักการทางแสง

เครื่องมือตรวจวัดคลอรีนฝีมือคนไทย ใช้หลักการตรวจวัดค่าแสงด้วยการเติมแสงที่ให้ค่าหักเหของแสงเปลี่ยนไป

อุปกรณ์แสดงผลด้วยแสง

กระโค้ง กระจกเว้า ภาพสะท้อนที่ต่างจากกระจกเรียบ

การสะท้อนของแสง

กระจกเว้าทำให้ได้ภาพที่ยืดขยายกว่าความเป็นจริง

หลักของสีแสงนำไปใช้ในการสร้างสีสันที่ต่างจากสีทางศิลป์

การนำแสงเลเซอร์มาประยุกต์ใช้ในการกำกับเส้นเพื่อการปะติดที่เป็นระเบียบ

เส้นใยแก้วนำแสง

คุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าขณะที่กำลังบทความนี้ คุณคือผู้โชคดี โชคดีที่มีโอกาสได้สัมผัสความมหัศจรรย์ของแสงที่ทำให้ตาคุณมองเห็น แต่ด้วยความเคยชินที่เราได้รับรู้อาจทำให้หลายคนมองข้ามไป แต่โชคยังเข้าข้างมนุษย์ที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญในการศึกษาธรรมชาติ ของสิ่งซึ่งทำให้เราสัมผัสกับสีสันรอบตัวเราได้ และเป็นไปได้ว่าในการค้นคว้าเกี่ยวกับแสงในยุคแรกเริ่มนั้นอาจมีคนตั้งคำถาม ว่า “จะรู้ไปทำไม”

เราอาจจะไม่อยากรู้ว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์รู้สึกทึ่งแค่ไหนที่ใน 1 วินาทีแสงสามารถเคลื่อนที่ได้ไกลถึง 300,000 กิโลเมตร เราอาจจะไม่สนใจว่าแสงมีพฤติกรรมเป็นได้ทั้งคลื่นและอนุภาค หรือเราอาจจะรู้สึกเฉยๆ ที่ไม่สามารถแบ่งแยกแสงได้เหมือนอะตอมที่แบ่งย่อยลงไปได้เรื่อยๆ แต่คุณสมบัติพื้นฐานของแสงไม่ว่าจะเป็นการหักเหในตัวกลางต่างชนิดกัน การสะท้อนหรือการแทรกสอดก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย และหลายครั้งคุณสมบัติพื้นๆ เหล่านี้ก็สร้าง “ภาพลวงตา” ที่ทำให้เรา “พิศวง” บ่อยๆ

จากการทดลองง่ายๆ โดยนำหลอดแก้วทดลองจุ่มในภาชนะที่มีน้ำจะเห็นภาพบิดเบี้ยวไป ซึ่งก็ดูธรรมดาเหมือนปรากฏการณ์ที่เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น ภาพของปลาในตู้โตกว่าตัวจริง แต่ถ้าจุ่มหลอดแก้วทดลองลงในภาชนะที่ใส่น้ำมันเรากลับพบว่าหลอดแก้วหายไป ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ “ค่าดัชนีหักเห” ของแสงของแก้วและน้ำมันมีค่าใกล้เคียงกันมากจนทำให้ภาพหลอดแก้วหายไป

นอกจากนี้ค่าความหักเหในตัวกลางที่ต่างกันบางครั้งยังทำให้เกิดปรากฏการณ์ “สะท้อนกลับหมด” แสงจึงสะท้อนกลับไปกลับมาในตัวกลางชนิดเดียว นักวิทยาศาสตร์จึงนำหลักการดังกล่าวไปผลิต “เส้นใยแก้วนำแสง” สำหรับส่งข้อมูลต่างๆ ทั้งภาพและเสียงที่เราใช้กันทุกวันนี้ โดยเส้นใยแก้วนำแสงจะมีตัวกลาง 2 ชนิดที่มีค่าดัชนีหักเหของแสงต่างกัน

ส่วนการประยุกต์ใช้คุณสมบัติการสะท้อนแสงที่เราเห็นประจำนั่นคือภาพ สะท้อนจากกระจกเงาที่เราเห็นจนชินตานั่นเอง แต่หากกระจกเงาที่แบนราบถูกดัดให้โค้งภาพที่ได้ก็หดสั้นลงหรือถูกดัดให้เว้า เข้าภาพที่ได้ก็จะยืดออก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ก็ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานหลายอย่าง เช่น การนำกระจกเว้าไปผลิตกระจกตรวจฟันของทันตแพทย์ หรือการติดกระจกโค้งตรงกระจกรถช่วยให้เราเห็นภาพของรถที่วิ่งข้างหลังได้ดี ขึ้น นอกจากนี้หลักการสะท้อนของแสงยังนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโคมไฟให้เหมาะ กับการใช้งานได้อีกด้วย

ข้างต้นคือคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ของ “แสงขาว” ที่เห็นอยู่ทั่วไป แต่เชื่อหรือไม่ยังมีแสงที่มีคุณสมบัติมหัศจรรย์ถึงขั้นตัดเหล็กได้เนื่องจากมีพลังงานสูง แสงดังกล่าวคือ “แสงเลเซอร์” ซึ่งคนเรานำมาใช้ประโยชน์ได้นานหลายสิบปีแล้ว ทั้งใช้ในการผ่าตัดซึ่งลดการสูญเสียเลือด ใช้ในการวัดระยะทางหรือวัดระดับ เป็นต้น

อีกตัวอย่างของการนำเลเซอร์ไปประยุกต์ใช้คือการนำสร้างภาพด้วยแสงเลเซอร์ที่เรียกว่า "โฮโลแกรม" ซึ่ง ใช้ฟิล์มต่างไปจากฟิล์มถ่ายรูปทั่วไป โดยใช้แสงเลเซอร์ฉายไปยังวัตถุ 3 มิติ และจะเกิดการแทรกสอดของแสงไปตกที่ฟิล์ม ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะ 3 มิติ และที่พิเศษคือแม้ฟิล์มของโฮโลแกรมจะฉีกขาดแต่เราก็ยังคงเห็นภาพได้แต่มี ขนาดที่เล็ก เทคนิคการสร้างภาพที่ต้องอาศัยเทคพิเศษทำให้ยากต่อการปลอมแปลง ภาพโฮโลแกรมจึงถูกนำไปใช้ในการรักษาความปลอดภัย เช่น การใส่รหัสเล็กๆ ในบัตรเครดิตหรือสติ๊กเกอร์โฮโลแกรมที่ใช้ในการระบุการรับประกันสินค้า เป็นต้น

นอกจากนี้แสงยังมีแม่สีที่ต่างไปจากแม่สีในทางศิลปะซึ่งโดยปกติเราจะ คุ้นเคยกับแม่สีแดง น้ำเงินและเหลือง แต่แม่สีแสงจะประกอบด้วยสีแดง น้ำเงินและเขียว อีกทั้งการผสมกันระหว่างแม่สีแสงก็จะให้สีของแสงที่ต่างไปจากการผสมแม่สีใน ทางศิลปะด้วย เช่น แสงสีแดงผสมกับสีเขียวจะได้สีเหลืองแต่หากเป็นแม่สีธรรมดาก็จะได้สีน้ำตาล เป็นต้น

สำหรับผลงานด้านเทคโนโลยีแสงฝีมือคนไทยก็มีไม่น้อย เช่น ผลงานของนักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่นำหลักการง่ายๆ ของการสะท้อนแสงไปพัฒนาเป็นเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยและการทำฐานข้อมูล บุคคลจากการพิมพ์ลายนิ้วมือ โดยจะมีเครื่องบันทึกภาพสะท้อนของลายนิ้วมือแล้วนำไปประมวลด้วยซอฟแวร์ คอมพิวเตอร์เก็บไว้เป็นข้อมูล จากนั้นเราจะสามารถใช้ภาพสแกนของลายนิ้วมือตัวเองระบุลักษณะเฉพาะได้

ผลงานเกี่ยวกับแสงของเนคเทคอีกชิ้นคือเครื่องมือวัดความหนาของเลนส์ ที่ใช้หลักการสะท้อนของแสง ด้วยการยิงแสงเลเซอร์ผ่านเลนส์ จากนั้นจะเซนเซอร์ตรวจรับแสงซึ่งความเร็วในการสะท้อนแสงจะถูกคำนวณด้วยซอ ฟแวร์ฝีมือคนไทยอีกเช่นกันแล้วได้ออกมาเป็นความหนาของเลนส์ วิธีดังกล่าวช่วยประหยัดเวลาและเป็นวิธีวัดที่ไม่สร้างความเสียหายให้กับตัว เลนส์

อย่างไรก็ดีคุณสมบัติพื้นฐานของแสงดังกล่าวได้สร้างประโยชน์มากมาย ให้กับชีวิตประจำวัน แต่ความน่าอัศจรรย์ของแสงไม่หยุดเพียงเท่านี้ เพราะแสงที่ได้ชื่อว่ามีความเร็วที่สุดตามทฤษฎีของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นั้นเป็นอีกกุญแจหนึ่งที่มนุษย์ตัวเล็กๆ จะใช้ไขความลับในจักรวาล รวมถึงอาจพาเราทะลุมิติไปยังเส้นทางที่ไกลโพ้นหรือข้ามไปในเวลาอันยาว ไกล ทั้งนี้ความฝันของคนกลุ่มหนึ่งอาจจะดูห่างไกลชีวิตประจำวัน แต่เชื่อว่าผลพวงจากการค้นคว้าจะทำให้เราพบความมหัศจรรย์อื่นๆ ที่เราจับต้องได้ต่อไป

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


List Of All Ps2 Games
Trading Card Games
Best Online Free Multiplayer Games
Car Games Online
Children Online Games
Free Windows Mobile Games
List All Board Games
Massively Multiplayer Online Role Playing Games
Mini Golf Games
Online Driving Games

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น